- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์
- รายละเอียดสถานการณ์ผลิดและการตลาด
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์14-20ส.ค.60
สับปะรด
ผลผลิต ลดลง
ปริมาณผลผลิตสับปะรดที่ออกสู่ตลาดเดือนสิงหาคม 2560 ประมาณ 0.043 ล้านตัน หรือร้อยละ 2.11 ของปริมาณผลผลิตรวม 2.040 ล้านตัน ลดลงจากปริมาณ 0.090 ล้านตัน ของเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 52.22 แต่เพิ่มขึ้นจากปริมาณ 0.041 ล้านตัน ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 4.87การส่งออก เพิ่มขึ้น
ปี 2560 (มกราคม-มิถุนายน) มีการส่งออกสับปะรดสดและผลิตภัณฑ์ปริมาณรวม 1.068 ล้านตันสด เพิ่มขึ้นจากปริมาณ 1.045 ล้านตันสด ในช่วงเดียวกันของปี 2559 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.26
ราคา สับปะรดโรงงาน ทรงตัว
สับปะรดบริโภค ลดลง
ช่วงนี้เป็นช่วงปลายฤดูกาล สับปะรดออกสู่ตลาดลดลง ประกอบกับโรงงานแปรรูปสับปะรดส่วนใหญ่เริ่มหยุดทำการผลิตเพื่อดูแลรักษาอุปกรณ์ ส่งผลให้ราคาสับปะรดโรงงานทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา สำหรับราคาสับปะรดบริโภคลดลง เนื่องจาก มีผลผลิตผลสดเข้าสู่ตลาดมากพร้อมกับผลไม้ชนิดอื่น โดยราคาที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ มีดังนี้
- สับปะรดโรงงานกิโลกรัมละ 4.35 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และลดลงจากกิโลกรัมละ 11.77 บาท ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 63.04
ผ่านมาร้อยละ 37.98
ข่าวรายสัปดาห์ 14-20 ส.ค. 60
ถั่วเหลือง
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.80 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งกากถั่วเหลืองใน สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 20.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 922.87 ( 11.34 บาท/กก.) ลดลงจาก บุชเชลละ 961.87 เซนต์ ( 11.81 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.05
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 295.57 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.88 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 307.47 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.28 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.87
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 32.85 เซนต์ ( 24.21 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 33.81 เซนต์ (24.91 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.84
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 3 วัน
ข่าวสัปดาห์ วันที่ 14 - 20 สิงหาคม 2560
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,600 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,633 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.02
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,330 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,370 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.92
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,113 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,114 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.09
7 - 13 สิงหาคม 2560
ราคายางแผ่นดิบคุณภาพ 3 ตลาดกลางหาดใหญ่ สัปดาห์นี้ 53.30 บาท/กิโลกรัม
ยางพารา
1. สรุปภาวการณ์ผลิต การตลาดและราคาภายในประเทศ
ภาพรวมราคายางพาราปรับตัวสูงขึ้นในทิศทางเดียวกับราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์และตลาดโตเกียว เนื่องจากพื้นที่ปลูกยางของไทย มีฝนตกเพิ่มมากขึ้น ทำให้ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย รวมถึงมาตรการแก้ไขปัญหาราคายางจากภาครัฐส่งผลให้ราคายางปรับตัวสูงขึ้น ทางด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ บริษัท ฮอนด้า อาร์แอนด์ดี เอเชีย แปซิฟิค จำกัด (หรือ HRAP)ได้เปิดสนามทดสอบ ฮอนด้า อาร์แอนด์ดี เอเชีย แปซิฟิค ปราจีนบุรี อย่างเป็นทางการ ณ สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดปราจีนบุรี โดยประเทศไทยนับเป็นประเทศที่ 3 ที่มีสนามทดสอบของฮอนด้าต่อจากประเทศญี่ปุ่น และประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นสนามทดสอบรถยนต์และรถจักรยานยนต์แบบครบวงจร และได้รับการออกแบบมาสำหรับภูมิภาคเอเชียและโอเชียเนียโดยเฉพาะ ด้วยเงินลงทุน 1,700 ล้านบาท บนพื้นที่กว่า 500 ไร่ (หรือประมาณ 800,000 ตารางเมตร) สนามทดสอบแห่งนี้ มีการจำลองสภาพถนนและลักษณะภูมิประเทศต่าง ๆ เพื่อการทดสอบในหลายรูปแบบ ประกอบด้วย 8 สนาม เช่น การควบคุมรถ การทรงตัว และสมรรถนะโดยรวม เพื่อนำผลทดสอบไปพัฒนาและยกระดับศักยภาพการแข่งขันของผลิตภัณฑ์ฮอนด้าที่จะจำหน่ายในภูมิภาคเอเชียและโอเชียเนีย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
1. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.28 บาท เพิ่มขึ้นจาก 50.72 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.56 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.10
2. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 2 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.78 บาท เพิ่มขึ้นจาก 50.22 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.56 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.12
3. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.28 บาท เพิ่มขึ้นจาก 49.72 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.56 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.13
4. ยางก้อนคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.27 บาท เพิ่มขึ้นจาก 22.57 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.70 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.10
5. เศษยางคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.25 บาท เพิ่มขึ้นจาก 18.92 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.33 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.74
6. น้ำยางสดคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.77 บาท เพิ่มขึ้นจาก 43.43 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 2.34 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.39
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. ซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนกันยายน 2560
ณ ท่าเรือกรุงเทพ
1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 62.01 บาท เพิ่มขึ้นจาก 59.91 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 2.10 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.51
2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.86 บาท เพิ่มขึ้นจาก 58.76 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 2.10 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.57
3. ยางแท่ง (STR20) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 53.20 บาท เพิ่มขึ้นจาก 52.05 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.15 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.21
4. น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.92 บาท เพิ่มขึ้นจาก 38.60 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.32 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.42
ณ ท่าเรือสงขลา
1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 61.76 บาท เพิ่มขึ้นจาก 59.66 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 2.10 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.52
2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.61 บาท เพิ่มขึ้นจาก 58.51 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 2.10 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.59
3. ยางแท่ง (STR20) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 52.95 บาท เพิ่มขึ้นจาก 51.80 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.15 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.22
4. น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.67 บาท เพิ่มขึ้นจาก 38.35 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.32 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.44
2. สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์และตลาดโตเกียวปรับตัวสูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา ทางด้านอุตสาหกรรมยานยนต์โลก นายฮาคาน ซามูเอลส์สัน ประธานและหัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) วอลโว่ คาร์ส ผู้ผลิตรถยนต์ในเครือจีลี่ โฮลดิ้ง กรุ๊ป กลุ่มผลิตรถยนต์จากจีน เปิดเผยว่า รถยนต์รุ่นใหม่ทุกรุ่น นับตั้งแต่ปี 2562 จะเป็นรถยนต์พลังงานไฟฟ้าเต็มรูปแบบ หรือไฮบริด ทำให้วอลโว่ เป็นค่ายรถยนต์ขนาดใหญ่รายแรก ที่เลิกใช้เทคโนโลยีแบบดั้งเดิม ซึ่งขับเคลื่อนอุตสาหกรรม มานานกว่าศตวรรษ พร้อมกับประกาศเป้าหมายว่าจะจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าและไฮบริดได้ 1 ล้านคัน ภายในปี 2568 ปัจจุบัน บรรดาผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ต่างเตรียมปรับตัวไปสู่อุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า แต่ความท้าทายสำหรับอุตสาหกรรมนี้ คือช่วงเวลาที่เหมาะสม เนื่องจากอุตสาหกรรมนี้ต้องใช้เวลานานหลายปีหมดไปกับการวิจัยและพัฒนาก่อนที่รถยนต์จะเข้าสู่สายการผลิต
ราคายางแผ่นรมควันชั้น 3
ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 181.83 เซนต์สหรัฐฯ (60.03 บาท) เพิ่มขึ้นจาก 175.38 เซนต์สหรัฐฯ (57.95 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 6.45 เซนต์สหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.67
ข่าวสัปดาห์ 14-20 ส.ค. 2560
ฝ้าย
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนกันยายน 2560 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 68.08 เซนต์(กิโลกรัมละ 50.18 บาท) ลดลงจากปอนด์ละ 71.04 เซนต์ (กิโลกรัมละ 52.36 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.17 และลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 2.18 บาท
สถานการณ์ตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ ผ่านมา เนื่องจากปริมาณสุกรออกสู่ตลาดใกล้เคียงกับความต้องการบริโภคเนื้อสุกรที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 60.57 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 60.30 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.45 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 58.12 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 57.15 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 61.77 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 64.55 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,600 บาท (บวกลบ 60 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 62.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 61.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.63
ในสัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตไก่เนื้อออกสู่ตลาดใกล้เคียงและสอดรับกับความต้องการบริโภค แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 39.07 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 39.43 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 40.35 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ภาวะตลาดไข่ไก่ค่อนข้างคึกคัก ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา แม้ว่าจะอยู่ในช่วงฤดูฝนมีอาหารตามธรรมชาติ แต่เนื่องจากความต้องการบริโภคไข่ไก่ที่เริ่มมีมากขึ้น แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 273 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 269 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.49 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 267 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 281 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 272 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 17.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 301 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 336 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 333 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.90 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 363 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 334 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 305 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 367 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 380 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 95.19 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 95.36 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.18 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัม 93.49 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 95.61 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 95.24 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 96.45 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 75.08 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 74.95 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.17 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 92.99 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 71.63 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคาความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 31.96 บาท
ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.82
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.21 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข่าวสัปดาห์ 14-20 ส.ค.60
ถั่วเขียว
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.32 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 34.11 บาท
ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.48
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 723.50 ดอลลาร์สหรัฐ (23.89 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 724.20 ดอลลาร์สหรัฐ (23.91 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.10 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ตารางราคาเกษตรกรขายได้ ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ และราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี